เส้นเลือด ตีบ แตก ตัน คือปลายทางของการใช้ชีวิต  ภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด

คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่


1. อาการอ่อนแรงครึ่งซีก ยกแขนไม่ขึ้นหนึ่งข้าง ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

2. อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง 

3. มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดติด เสียงไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจคำพูด 

4. มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน

5. การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน


    อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าท่านกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ด้วยความรวดเร็ว เพราะยิ่งนานจะทำให้สมองเกิดความเสียหายมากขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงของเซลล์สมองตาย จะส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาการของผู้ป่วยจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับและอาจกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 6 เดือน หลังจากรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยวิธีการทางการแพทย์เสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะต้องกลับมาพักฟื้นต่อที่บ้าน แต่เรากลับพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาการอ่อนแรงครึ่งซีก ไม่ว่าจะเป็นการขยับแขนไม่ได้ ขยับขาไม่ได้ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ในบางรายนอนติดเตียง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยแขนขาอ่อนแรงจาก Stroke นี้ มีระยะการฟื้นตัวที่ดีที่สุดอยู่ในช่วง 3-6 เดือนแรก ถือเป็นเวลาทอง (Golden period) ของผู้ป่วย การฟื้นตัวของร่างกายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองเชื่อว่าเกิดจากสมองมีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน โดยสมองส่วนที่เหลืออยู่จะมาทำงานทดแทนสมองส่วนที่ตายไป ซึ่งความเร็วในการทำงานทดแทนของสมองแต่ละส่วนนั้นไม่เท่ากัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาวะปกติทุกอย่างได้ทุกคน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค วิธีการรักษา การทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู รวมทั้งผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

 โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะต้องมีระดับไขมันดังนี้

คอเลสเตอรอลรวม 

  ระดับที่ต้องการ : น้อยกว่า 200 mg/dL (ถือว่าเหมาะสม)

  ระดับปานกลาง : 200 - 239 mg/dL (เริ่มอันตราย) 

  ระดับสูง : มากกว่า 240 mg/dL (อันตรายมาก)

   คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL)

ะดับที่ต้องการ : น้อยกว่า 130 mg/dL (น้อยกว่า 100 mg/dL สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน)

     ระดับปานกลาง : 130 - 159 mg/dL

     ระดับสูง : มากกว่า 160 - 189 mg/dL

     ระดับสูงมาก : ตั้งแต่ 190 mg/dL ขึ้นไป

      คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) เป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายซึ่งหากสะสมอยู่ในร่างกายมาก ๆ ก็จะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดตีบตัน จนเกิดภาวะอุตตันในเส้นเลือด ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

 ไตรกลีเซอไรด์

  ระดับที่ต้องการ : น้อยกว่า 150 mg/dL

      ระดับปานกลาง : 150 - 199 mg/dL

      ระดับสูง : มากกว่า 200 - 499 mg/dL

      ระดับสูงมาก : ตั้งแต่ 500 mg/dL ขึ้นไป

ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดีซึ่งจะคอยขัดขวางไม่ให้คอเลสเตอรอลที่ดีไปจัดการกับไขมันที่อยู่ในเลือด หากมีมากจนเกินไป คอเลสเตอรอลที่ดีก็จะไม่สามารถกำจัดไขมันที่ไม่ดีในเลือดได้ ส่งผลให้ไขมันที่ตกค้างอยู่ไปเกาะสะสมอยู่ในหลอดเลือดทำให้เกิดการอุดตันในที่สุด

 

    คอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL)

           ระดับที่ต้องการ : มากกว่า 60 mg/dL (ยิ่งสูงยิ่งดี แต่ไม่ควรเกิน 100 mg/dL)

           ระดับที่สามารถรับได้ : 40 - 59 mg/dL

           ไม่ควรต่ำเกิน : 40 mg/dL (ยิ่งต่ำยิ่งไม่ดีต่อสุขภาพ)

     คอเลสเตอรอลชนิดที่ดี ทำหน้าที่ในการนำพาไขมันที่ไม่ดีต่าง ๆ ในร่างกายไปยังตับเพื่อทำการย่อยสลาย ซึ่งไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย ยิ่งมีมากก็จะยิ่งทำให้ไขมันที่เข้าไปในร่างกายไม่เกิดการตกค้าง และยังช่วยกำจัดไขมันไม่ดีอย่างไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) ได้อีกด้วย



สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน

- ไขมันในเลือดสูง เพราะไขมันจะไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือด ไปขวางการไหลเวียนเลือด ทำหลอดเลือดเกิดการอุดตัน เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ และอัมพาตได้

-ภาวะความดันโลหิตสูง จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและหลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้สมองขาดเลือด และทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กในสมองโป่งพองออกเป็นกระเปาะเล็กๆ ทำให้เกิดการปริแตก และมีเลือดออกในสมองได้

- ภาวะเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบ เปราะบาง แตกง่าย จึงส่งผลทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองหรือเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ และอัมพาตตามมาได้

- การทานอาหารไขมันสูง ของหวานน้ำตาล และผลไม้รสหวานเป็นประจำ จะส่งผลทำให้เกิดภาวะเลือดหนืดข้น และเมื่อหลอดเลือดของเราเกิดการอักเสบ เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ อุดตันหรือแตกได้

- ภาวะอ้วน ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกินมาตรฐาน จะมีความเสี่ยงเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ แตกหรืออุดตัน และอัมพาตมากกว่าปกติ 2-10 เท่า

- สูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ 

- ภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก 

สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ หากสามารถควบคุมตัวเองได้ และตรวจร่างกาย วัดค่าไขมัน อย่างสม่ำเสมอก็จะให้ลดความเสี่ยงลงได้



วิธีการประเมินความเสี่ยงไขมันในเส้นเลือด check list ด้วยตนเอง

…….……1.   มีภาวะเบาหวาน

………….2   ความเครียด

………….3   ดื่มเหล้า

…………4    กินจุกจิก

…………5    ชอบกินอาหารรสเค็ม

………….6    ไม่ออกกำลังกาย

………….7    นอนไม่เพียงพอ

…………..8   สูบบุหรี่

……………9  มีบรรพบุรุษสายตรง(พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย)มีประวัติสโตรก หัวใจขาดเลือด

หากเข้าเกณฑ์มากกว่า2 ข้อ  ท่านมีความเสี่ยงต่อโรคไขมันในหลอดเลือด ควรเข้ารับ

การตรวจเลือด เพื่อควบคุม ป้องกัน รักษา ตัดวงจรการเกิดสโตรก เส้นเลือดสมอง ตีบ ตัน แตก และอาการหัวใจขาดเลือด ที่อาจทำให้เสียชีวิต อัมพฤก อัมพาต 


วิธีการควบคุมไขมันด้วยตัวเอง

1. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ3 วันขึ้นไป ครั้งละ 30นาทีขึ้นไป

2. กินอาหารที่มีไยอาหารสูงไขมันดีสูงเช่นปลา ถั่ว กินแป้งขัดสีน้อย ลดอาหารหวาน เค็ม แป้ง ไม่กินอาหารจุกจิก เลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัวสูง

3.งดสูบบุหรี่เพราะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เป็นความดันโลหิตสูงได้ง่าย ลดการดื่มสุราเพิ่มไตรกลีเซอร์ไรด์

4.ไม่เครียด 

5.พักผ่อนให้เพียงพอ


    วิธีดูแลรักษาไขมันด้วยเทคโนโลยีใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญ

1.ตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI จะได้ค่าความสมบูรณ์ของหลอดเลือด

2.แปลผล ประเมิน ใช้ กำหนดปริมาณ วิธีการและเวลาในการรักษา

3.เข้าสู่กระบวนการควบคุม ป้องกัน รักษา ด้วยวิธีที่เหมาะสม

4.เปรียบเทียบผล ก่อน_หลัง 

5.แนะนำการดูแลสุขภาพและติดตามผลสม่ำเสมอ


การตรวจคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นด้วยเครื่องABI


          การตรวจ ABI      หาภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบ  

ตรวจได้โดยไม่ต้องเจาะเลือด เป็นการตรวจคัดกรองความเสี่ยง โรคหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยการตรวจมีลักษณะเหมือนการตรวจวัดความดันโลหิตทั่วไป ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ให้ความแม่นยำสูง และไม่มีความเสี่ยงหรือได้รับความเจ็บปวดในขณะตรวจ

 


ในขณะตรวจวินิจฉัยหรือค้นหาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันที่ขา

ในระยะแรกๆ ที่มักพบบ่อยร่วมกับการอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีอาการปวดขา ปวดน่อง และเป็นตะคริว

     การตรวจเบื้องต้นนี้สามารถนำไปสู่การค้นหาโรคสำคัญอื่นๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจแลโรคหลอดเลือดสมองตีบ 

สามารถช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน หัวใจขาดเลือด ในอนาคต

และยังใช้ประเมินระดับความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือดเพื่อเลือกวิธีการดูแลที่เหมะสม

https://www.google.com/maps/place/7%C2%B000'32.5%22N+100%C2%B028'57.5%22E/@7.00902,100.482641,15z/data=!4m4!3m3!8m2!3d7.00902!4d100.482641





  เทคโนโลยี อะมิโนเปปไทด์


เส้นเลือด ตีบ แตก ตัน ไขมัน ตัวร้าย ภัยเงียบ

฿ 495